จัดศึกเปตอง “ผู้เปลี่ยนอวัยวะ” ชิงแชมป์ประเทศไทยชิงถ้วยพระราชทาน
เมื่อวันที่ 22 ต.ค. นายสัณหณัฐ สีจำปี นายกสมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย เป็นประธานแถลงข่าวการจัดการแข่งขันกีฬาเปตองผู้เปลี่ยนอวัยวะชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ห้องประชุม สนามมูลนิธิเพื่อพัฒนากีฬาเปตอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ โดยมี นางสาวฐปนีย์ โสภณ เลขาธิการสมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย นายปรีชา ลาลุน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ และนายชุริน ภัทรดิลก อุปนายกสมาคมกีฬาเปตองแห่งประเทศไทยฯ ร่วมมแถลงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับการแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 ต.ค. ที่สนามมูลนิธิเพื่อพัฒนากีฬาเปตอง เขตวังทองหลาง รวมทั้งสิ้น 5 ประเภท ประกอบด้วย เดี่ยวชายทั่วไป, เดี่ยวหญิงทั่วไป, คู่ทั่วไป และชู้ตติ้ง มีนักกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะฯ สมัครเข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 60 คน
สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ดูแลและให้การสนับสนุนผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งได้แก่ ปลูกถ่าย ตับ ไต หัวใจ ปอด และผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก ให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น มีการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้น ภายหลังจากที่ได้รับการรักษา ด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะและทางการแพทย์ได้พบว่า ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ สามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจได้เร็วขึ้น ด้วยการเล่นกีฬา จึงได้มีการสนับสนุนกิจกรรมกีฬาในกลุ่มผู้ปลูกถ่ายอวัยวะให้มากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน กีฬาเปตอง ถือเป็นกีฬาที่พัฒนาทางด้านร่างกาย กำลังแขน ผู้เล่นจะฝึกการใช้นิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อศอกและหัวไหล่ ให้สัมพันธ์กัน เพื่อบังคับลูกให้ได้จังหวะและระยะที่ต้องการ กำลังขา ผู้เล่นจะต้องเดินไปเดินมาตามความยาวของสนาม ลุกนั่งเพื่อการวาง หรือ ลูกเข้าตลอดเวลาการเล่น สายตา กีฬาเปตอง ช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กัน ระหว่างสายตา และมือ เนื่องจากต้องใช้สายตา กะระยะทาง พิจารณามุมต่างๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามความต้องการ อีกทั้งยังพัฒนาทางด้านสติปัญญา ทางด้านจิตใจ และด้านสังคม อีกทั้งกติกาไม่ยุ่งยากซับซ้อน เล่นสนุก เข้าใจได้ง่าย สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เล่นได้ และที่สำคัญ เป็นกีฬาที่สมาคมฯ ได้นำเสนอเข้าในการแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลก ครั้งที่ 16 เมื่อปี 2550 และได้บรรจุในการแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา.