ไปรษณีย์ไทย ผุด “ตู้จดหมายดิจิทัล” ยืนยันตัวตนผ่านบัตรปชช. นำร่องหน่วยงานรัฐปีนี้
ไปรษณีย์ไทย สร้างแพลตฟอร์มใหม่ ให้บริการระบบจัดการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรในระบบ Prompt Post มีรูปแบบเป็น “ตู้ไปรษณีย์ดิจิทัล” ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว เที่ยงตรงแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง
ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ระบุว่า การใช้ดิจิทัลเมลบ็อกซ์ จะต้องผ่านระบบการยืนยันตัวตนจากบัตรประชาชน เป็นข้อมูลที่ได้รับการยืนยันจากกรมการปกครอง
เพื่อตรวจสอบดูว่าบุคคลนั้น ๆ มีเลขบัตรประชาชนถูกต้องมีตัวตนอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ ถ้าได้รับการยืนยันตัวตนถูกต้องสามารถใช้ “ดิจิทัลเมลบ็อกซ์” ได้
“การรับ – ส่งเอกสารก็เหมือนกับการส่งจดหมายธรรมดาตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างจดหมายลงทะเบียนที่เกี่ยวกับธุรกิจ เมื่อเขียนเสร็จต้องเซ็นชื่อ หรือลายเซ็น เมื่อมาเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็เปลี่ยนเป็นลายเซ็นอีเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ซิกเนเจอร์ ( e-signature ) กำกับความถูกต้องและการันตีว่าไม่มีการปลอมแปลง” ดร.ดนันท์ กล่าว
เลือกตั้ง 2566 : กกต. มอบไปรษณีย์ไทยขนส่งบัตรเลือกตั้งมั่นใจไม่ตกหล่น
เลือกตั้ง 2566 : ไปรษณีย์ไทย แจงปมซองบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าอ่านยาก
ทั้งนี้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นหลักฐานในศาลได้ และเมื่อส่งออกไปปลายทางจะมีการบันทึกอิเล็กทรอนิกส์กำกับเวลาไว้ ว่าเป็นเวลาเท่าไหร่ โดยเป็นเวลาที่อ้างอิงจากศูนย์มาตรวัดเวลาโดยตรง สามารถตรวจสอบกลับมาได้คำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่
นอกจากนี้เวลาปิดซองยังมีตราประทับอีเล็กทรอนิกส์ หรือ e-seal เหมือนกับจดหมายกระดาษทุกประการ รวมไปถึงตู้ไปรษณีย์ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจก็เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มดิจิทัลเมล์บ็อกซ์เช่นเดียวกัน
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจ.ไปรษณีย์ไทย กล่าวต่อว่า ระบบนี้ขั้นตอนแรกจะโฟกัสที่หน่วยงานภาครัฐก่อน ฐานลูกค้าภาครัฐก็คือฐานลูกค้าคนทั่วประเทศ อาทิสรรพากร กรมการปกครอง และภาคบริการต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเมื่อทุกอย่างถูกเปลี่ยนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จ ถูกส่งผ่านระบบดิจิทัลเข้าไปที่เมลบ็อกซ์ของลูกค้าที่มีเมลบ็อกซ์เช่นกัน ทุกอย่างสามารถใช้ได้สะดวกขึ้น หรือภาคการศึกษา จะส่ง อี-ทรานสคริปต์ในแพลตฟอร์มนี้ และส่งอี-ทรานสคริปต์นี้ไปสมัครงานได้เลย ถ้าที่ทำงานนั้นมีลงทะเบียนดิจิทัลเมลบ็อกซ์ไว้กับไปรษณีย์ไทย ก็ทำได้ไม่ยาก
“คนที่ใช้ดิจิทัลเมลบ็อกซ์ จะรู้ตัวตนทั้งที่ต้นทาง – ปลายทางทั้งหมด ทุกอย่างคือของจริง ไม่มีสแปมโผล่มา โดยเฉพาะกับหน่วยงานภาครัฐซึ่งให้บริการสาธารณะ จะช่วยอำนวยความสะดวกอย่างมากเวลาต้องส่งเอกสาร บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน” ดร.ดนันท์ กล่าว
สำหรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ จะไม่มีการปลอมแปลง เพราะทุกอย่างต้องผ่านระบบการยืนยันตัวตน เวลานี้ไปรษณีย์ไทยหารือกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานเพื่อทำโครงการนำร่อง คาดว่าในไตรมาส 3 ปีนี้ เริ่มใช้ได้เลยทันที
ขณะเดียวกัน ไปรษณีย์ไทย จะไม่มีการปรับลดพนักงาน แต่จะปรับเปลี่ยนหน้าที่พนักงานบางส่วน พัฒนาให้บุรุษไปรษณีย์ที่มีอยู่กว่า 20,000 คน แนะนำสินค้าให้กับคนในชุมชน รับออเดอร์สั่งซื้อ และนำสินค้ามาส่งได้แบบตามต้องการ หรือที่เรียกว่าธุรกิจค้าปลีก เป็นการนำจุดแข็งของบุรุษไปรษณีย์ที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนเข้ามาใช้