ร้อนจะตายอยู่แล้ว! มาทำความรู้จัก “ดัชนีความร้อน” คืออะไร –

ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ นึกยากจะหนีไปอยู่ดาวอังคาร เพราะสภาพอากาศช่วงเที่ยงไปจนถึงเย็น สภาพอากาศ 40 – 45 องศาฯร้อน ร้อนมาก และร้อนไหม้ ทำเอาหลายคน ไม่อยากออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง

มาวันนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับ ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น (Apparent Temperature) ว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร

โดยนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น

อย่างไรก็ดี ประโยชน์ของ "ดัชนีความร้อน" มีอยู่เหมือนกัน เพราะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติตัวเพื่อการดูแลตนเอง โดยค่าดัชนีความร้อนในระดับต่างๆ จะส่งผลต่อสุขภาพแบ่งเป็น 4 ระดับด้วยกัน

เฝ้าระวัง : 27-32 องศาเซลเซียส (สีเขียว) ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน

เตือนภัย : 32-41 องศาเซลเซียส (สีเหลือง) เกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

อันตราย : 41-54 องศาเซลเซียส (สีส้ม) มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานานคำพูดจาก นสล็อตออนไลน์

อันตรายมาก : มากกว่า 54 องศาเซลเซียส (สีแดง) เกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก

ดังนั้นแล้ว ในวันที่ค่าดัชนีอากาศสูงเช่นนี้ ควรสังเกตอาการตนเองบ่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็น ควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา รวมถึงน้ำอัดลม

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา